การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2561 แฟ้มภาพ

Posted: 14 Jan 2019 07:23 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2019-01-14 22:23


14 ม.ค. 61 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดา มีนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานในคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง จำนวน 7 คน ได้แก่ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ รังสิมันต์ โรม สุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ ชลธิชา แจ้งเร็ว สิริวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ อานนท์ นำภา และณัฏฐา มหัทธนา ซึ่งจัดชุมนุมที่บริเวณข้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 61 หรือ “RDN50”

ประชาชนชุมนุมต้าน คสช. ยื้อเลือกตั้ง สืบทอดอำนาจ ตำรวจคุมพื้นที่เข้ม

คสช.แจ้งจับ 7 แกนนำ 'อยากเลือกตั้ง' พร้อม 43 ผู้ร่วมชุมนุม อนุสาวรีย์ ปชต.

จำเลยทั้งหมดถูกดำเนินคดีตามความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่นประชาชนให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง และความผิดตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/58 โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสถานทูตเยอรมันนีเข้าร่วมสังเกตการณ์กระบวนการพิจารณาคดี
รวมคดี “โรม” กับจำเลยทั้ง 6 คน

คู่ความได้แถลงร่วมกันว่า ภายหลังจากที่ได้มีการดำเนินคดีจำเลยทั้ง 6 คน เป็นคดีดำที่ 2893/2561 ซึ่งอัยการได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 61 ซึ่งศาลได้สอบคำให้การจำเลยทั้ง 6 คน ไปแล้ว จากนั้นจึงเลื่อนนัดพร้อมเพื่อประชุมคดีมาเป็นวันนี้ และได้พิจารณาคำร้องขอรวมคดีกับคดีดำที่ 1197/2561 ซึ่งมีรังสิมันต์ โรม เป็นจำเลยที่ถูกแยกฟ้องมาคนเดียวก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ คู่ความแถลงว่าเนื่องจากทั้ง 2 คดี เกิดเหตุในวันเดียวกัน มีพยานและหลักฐานชุดเดียวกัน หากรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันจะเป็นการสะดวก ศาลเห็นชอบจึงอนุญาตให้รวมพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกัน จากนั้นศาลให้โจทก์และจำเลยตรวจพยานหลักฐาน
คู่ความตรวจพยานหลักฐาน

โจทก์ได้แถลงขอส่งเอกสารในคดี คดีดำที่ 2893/2561 เป็นหลักเนื่องจากเป็นพยานหลักฐานชุดเดียวกันทั้งหมด โดยไม่มีพยานเอกสารเพิ่มเติม ซึ่งมีพยานหลักฐานที่น่าสนใจ อาทิ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการทางกฎหมายของ คสช. ,พนักงานสอบสวน และภาพถ่ายและบันทึกคำปราศรัยของจำเลย

ด้านทนายความจำเลยทั้ง 7 คน อ้างพยานหลักฐานร่วมกัน อาทิ พยานเอกสารจำนวน 6 ฉบับ และแผ่นวีซีดี 1 แผ่น โดยมีพยานหลักฐาน เช่น ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ รวมถึงบันทึกคำปราศรัย

ด้านทนายความจำเลยได้แถลงแนวทางการต่อสู้คดีระบุว่า จำเลยทั้ง 7 คน ไม่ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีเจตนายุยง ปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน แต่แท้จริงแล้วการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อให้ประเทศเกิดประชาธิปไตย ขณะที่การวิพากษ์ วิจารณ์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ก็ถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ โดยสุจริตและเป็นธรรม

ในเวลาต่อมาคู่ความเห็นรวมกันว่า เนื่องจากการรวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันทำให้มีคู่ความเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันจำเลยหลายรายติดนัดความคดีอื่น ๆ อีก ศาลจึงนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยใหม่ ศาลจึงมีคำสั่งนัดสืบพยานในคดีนี้ใหม่เป็นวันที่ 1-2, วันที่ 6-9, และ 13-15 ส.ค. 2562
เลื่อนฟังคำสั่งคดี Army57 และ UN62

นอกจากนั้นในวันเดียวกัน เวลา 13.00 น. ยังมีคดีคนอยากเลือกตั้ง (แกนนำ) จัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก(Army57) เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 61 เดินทางเข้ารับทราบคำสั่งของพนักงานอัยการที่สำนักอัยการสูงสุด กอง 7 โดยบุคคลที่ต้องรับทราบคำสั่งอีก 9 คน โดยอัยการได้เลื่อนการสั่งออกไปอีก 1 นัด และนัดให้ผู้ต้องหาเดินทางมาที่สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อ ฟังคำสั่งเป็นวันที่ 28 ก.พ. 25662

ขณะที่การดำเนินคดีกับแกนนำคนอยากเลือกตั้งจัดการชุมนุมบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) และหน้าที่ทำการสหประชาชาติ(UN62) อัยการได้เลื่อนฟังคำสั่งเป็นวันที่ 15 มี.ค. 2562 ยังไม่คำสั่งชัดเจนว่าจะฟ้องคดีในวันดังกล่าวหรือไม่

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.