กรมสวัสดิการฯ เดินหน้าหนุนนายจ้างดูแลลูกจ้างติดเชื้อ HIV ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เลิกจ้าง


Posted: 01 Jun 2017 12:03 PM PDT   (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

กรมสวัสดิการฯ ลงพื้นที่ส่งเสริมให้นายจ้างปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรคในสถานประกอบกิจการ ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่กีดกันการจ้างงานและไม่เลิกจ้างแรงงานที่ติดเชื้อเอดส์ ก.แรงงาน แนะเรียนอาชีวะ ตลาดแรงงานต้องการสูง

1 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวจากกลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ระบุว่า สุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยว่า กรมสวัสดิการฯ ได้กำชับให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัดและ 10 พื้นที่กรุงเทพมหานคร เข้าส่งเสริม ให้นายจ้างปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง แนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรคในสถานประกอบกิจการ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ป่วยเอดส์และติดเชื้อเอชไอวีมิให้ถูกตีตราและไม่ถูกเลือกปฏิบัติในการจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยได้ส่งเสริมให้นายจ้าง ผู้บริหาร ลูกจ้างมีความรู้เกี่ยวกับเอดส์ มีการอบรม ปรึกษาแนะนำ และให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องเอดส์ที่ถูกต้องเพื่อลดโอกาสเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับเชื้อเอชไอวี รับสมัครงานและการจ้างงานต้องไม่มีการตรวจหรือแสดงหลักฐานว่าไม่ติดเชื้อเอชไอวี ส่งเสริมสิทธิในการรักษาความลับส่วนบุคคลและมีผู้รับผิดชอบงานด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงให้ความคุ้มครองผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถทำงานและมีความก้าวหน้า ให้ความเสมอภาคในการพิจารณาสิทธิประโยชน์และสวัสดิการแก่ลูกจ้างทุกคน ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้เป็นเหตุในการเลิกจ้างเพียงเพราะเป็นผู้ป่วย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ที่ไม่สามารถทำงานและผู้ได้รับผลกระทบให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามความเหมาะสมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้าง

อธิบดีกรมสวัสดิการฯ กล่าวต่อไปว่า ลูกจ้างที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยเอดส์ สามารถอยู่ร่วมกันผู้อื่นในสถานประกอบกิจการได้ แต่นายจ้างจะต้องส่งเสริมและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับลูกจ้างทุกคนเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และเพื่อให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีได้รายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว ตลอดจนมีความมั่นคงในการทำงานบนพื้นฐานแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในสังคม และสถานประกอบกิจการ

ก.แรงงาน แนะเรียนอาชีวะ ตลาดแรงงานต้องการสูง

วันเดียวกัน รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน แจ้งด้วยว่า สุทธิ สุโกศล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เผยจาการสำรวจความต้องการแรงงานของกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ตุลาคม 2559 - เมษายน 2560 ที่พบว่า นายจ้างหรือสถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานมายังกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 219,896 อัตรา เฉลี่ย 31,414 อัตรา/เดือน โดยมีความต้องการแรงงานมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 37,491 อัตรา ส่วนใหญ่ สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาระดับ ปวช. – ปวส. หรืออนุปริญญา มากที่สุด 82,022 อัตรา รองลงมาระดับมัธยมศึกษา 71,759 อัตรา ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า 36,476 อัตรา และระดับปริญญาตรีและสูงกว่าจำนวน 29,639 อัตรา

ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า จากตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดแรงงาน ณ ปัจุบันมีความต้องการผู้ที่จบการศึกษาระดับปวช. – ปวส. หรืออนุปริญญา ที่มีทักษะด้านวิชาชีพมากที่สุด จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมต้นมองสายอาชีวะหรือสายอาชีพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาต่อ เนื่องจากสามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วไม่ตกงาน มีตำแหน่งงานว่างรองรับ อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ และยังสามารถเพิ่มรายได้ ด้วยการเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีอัตราค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 815 บาทต่อวัน ซึ่งดีกว่าจบสูงแต่ตกงาน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวเป็นสุข และได้ร่วมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

ก.แรงงาน แนะเรียนอาชีวะ ตลาดแรงงานต้องการสูง

กระทรวงแรงงาน ชวนผู้ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมต้นมองสายอาชีวะหรือสายอาชีพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาต่อ จากความต้องการของตลาดแรงงานมากสุด จบแล้วไม่ตกงาน มีตำแหน่งงานว่างรองรับ สามารถเพิ่มรายได้ด้วยการเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

1 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สุทธิ สุโกศล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เผยจาการสำรวจความต้องการแรงงานของกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ตุลาคม 2559 - เมษายน 2560 ที่พบว่า นายจ้างหรือสถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานมายังกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 219,896 อัตรา เฉลี่ย 31,414 อัตรา/เดือน โดยมีความต้องการแรงงานมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 37,491 อัตรา ส่วนใหญ่ สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานที่มีการศึกษาระดับ ปวช. – ปวส. หรืออนุปริญญา มากที่สุด 82,022 อัตรา รองลงมาระดับมัธยมศึกษา 71,759 อัตรา ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า 36,476 อัตรา และระดับปริญญาตรีและสูงกว่าจำนวน 29,639 อัตรา

ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า จากตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการของตลาดแรงงาน ณ ปัจุบันมีความต้องการผู้ที่จบการศึกษาระดับปวช. – ปวส. หรืออนุปริญญา ที่มีทักษะด้านวิชาชีพมากที่สุด จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมต้นมองสายอาชีวะหรือสายอาชีพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาต่อ เนื่องจากสามารถเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วไม่ตกงาน มีตำแหน่งงานว่างรองรับ อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ และยังสามารถเพิ่มรายได้ ด้วยการเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีอัตราค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 815 บาทต่อวัน ซึ่งดีกว่าจบสูงแต่ตกงาน และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ครอบครัวเป็นสุข และได้ร่วมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศพร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.