รองโฆษกรัฐบาลโต้ผู้แทนพิเศษยูเอ็นไม่ควรก้าวล่วงกฎหมายประเทศอื่น ยืนยันให้เสรีภาพแสดงความเห็นประชามติ
พล. ต. วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่นายเดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในประเด็นที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ได้ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมและตั้งข้อหาแก่ผู้แสดงความเห็นเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐบาลเข้าใจถึงความหวังดีของผู้แทนองค์กรต่างประเทศที่พยายามทำหน้าที่ของตนเองเพื่อให้สังคมรับรู้ถึงผลงานที่ได้ทำ แต่รัฐบาลก็ยืนยันมาโดยตลอดถึงเหตุผลของการจับกุมและดำเนินคดีว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จึงจำเป็นต้องมีกฎกติกาที่แตกต่างจากช่วงปกติ เพื่อบังคับใช้กฎหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อย ให้บ้านเมืองเดินหน้าไปตามขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเชื่อว่าหลายประเทศมีความเข้าใจดีถึงข้อเท็จจริงนี้
พล. ต. วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่นายเดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในประเด็นที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ได้ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมและตั้งข้อหาแก่ผู้แสดงความเห็นเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ว่า รัฐบาลเข้าใจถึงความหวังดีของผู้แทนองค์กรต่างประเทศที่พยายามทำหน้าที่ของตนเองเพื่อให้สังคมรับรู้ถึงผลงานที่ได้ทำ แต่รัฐบาลก็ยืนยันมาโดยตลอดถึงเหตุผลของการจับกุมและดำเนินคดีว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จึงจำเป็นต้องมีกฎกติกาที่แตกต่างจากช่วงปกติ เพื่อบังคับใช้กฎหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อย ให้บ้านเมืองเดินหน้าไปตามขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเชื่อว่าหลายประเทศมีความเข้าใจดีถึงข้อเท็จจริงนี้
"หากท่านมีความกังวลตามที่ระบุในแถลงการณ์ รัฐบาลก็รู้สึกกังวลใจเช่นเดียวกันในเรื่องความเหมาะสมของการแสดงความเห็นส่วนบุคคลที่อาจก้าวล่วงกฎหมายไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยินดีรับฟังหากข้อเสนอแนะเหล่านั้นเป็นประโยชน์
รองโฆษกรัฐบาลยังระบุด้วยว่า รัฐบาลยังเคารพกฎกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอยู่เสมอ สื่อมวลชนไทยยังมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากข้อความและการแสดงความเห็นที่ปรากฏให้เห็นรายวัน ขณะที่สื่อมวลชนบางกลุ่มจงใจนำเสนอข้อมูลบิดเบือน ละเมิดกฎหมาย และพยายามจุดชนวนสร้างความแตกแยก ซึ่งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลใดในโลกยอมรับได้ นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่เคยปิดกั้น และสนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กกต. จัดเวทีอภิปรายรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
“ส่วนการตัดสินใจจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน ไม่ควรมีผู้ใดไปชี้นำหรือบังคับกะเกณฑ์ แต่ควรแสดงความเห็นหรือถกเถียงกันด้วยหลักการ ที่ไม่สร้างความขัดแย้ง จึงอยากเรียกร้องไปยังผู้แทนองค์กรต่างประเทศให้ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ พร้อมทั้งเคารพการตัดสินใจของรัฐบาลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย เหตุผล และความเป็นธรรม และไม่ต้องการให้ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการวิพากษ์วิจารณ์ที่ปราศจากความถูกต้องเช่นนี้อีก" พล.ต.วีรชนกล่าว
วานนี้ นายเดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในประเด็นที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ได้ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมและตั้งข้อหาแก่ผู้แสดงความเห็นเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่านสื่อสาธารณะและโซเชียลมีเดียในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอ้างถึงรายงานระบุว่า จนถึงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ถูกสอบสวนหรือถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติฯไปแล้วอย่างน้อย 86 ราย โดยผู้กระทำผิดต้องรับโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ถูกปรับ และเสียสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งอีก 10 ปี
ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติยังเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดบังคับใช้ พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติฯ และยกเลิกการตั้งข้อหาดำเนินคดีผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวในทันที โดยขอให้ไทยยึดถือตามพันธกิจที่ต้องรักษาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
รองโฆษกรัฐบาลยังระบุด้วยว่า รัฐบาลยังเคารพกฎกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอยู่เสมอ สื่อมวลชนไทยยังมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างเต็มที่ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากข้อความและการแสดงความเห็นที่ปรากฏให้เห็นรายวัน ขณะที่สื่อมวลชนบางกลุ่มจงใจนำเสนอข้อมูลบิดเบือน ละเมิดกฎหมาย และพยายามจุดชนวนสร้างความแตกแยก ซึ่งเชื่อว่าไม่มีรัฐบาลใดในโลกยอมรับได้ นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่เคยปิดกั้น และสนับสนุนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กกต. จัดเวทีอภิปรายรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
“ส่วนการตัดสินใจจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน ไม่ควรมีผู้ใดไปชี้นำหรือบังคับกะเกณฑ์ แต่ควรแสดงความเห็นหรือถกเถียงกันด้วยหลักการ ที่ไม่สร้างความขัดแย้ง จึงอยากเรียกร้องไปยังผู้แทนองค์กรต่างประเทศให้ทำความเข้าใจข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ พร้อมทั้งเคารพการตัดสินใจของรัฐบาลซึ่งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย เหตุผล และความเป็นธรรม และไม่ต้องการให้ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของการวิพากษ์วิจารณ์ที่ปราศจากความถูกต้องเช่นนี้อีก" พล.ต.วีรชนกล่าว
วานนี้ นายเดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติในประเด็นที่ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็น ได้ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมและตั้งข้อหาแก่ผู้แสดงความเห็นเรื่องการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผ่านสื่อสาธารณะและโซเชียลมีเดียในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยอ้างถึงรายงานระบุว่า จนถึงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา มีผู้ถูกสอบสวนหรือถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติฯไปแล้วอย่างน้อย 86 ราย โดยผู้กระทำผิดต้องรับโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ถูกปรับ และเสียสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งอีก 10 ปี
ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติยังเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดบังคับใช้ พ.ร.บ. การออกเสียงประชามติฯ และยกเลิกการตั้งข้อหาดำเนินคดีผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวในทันที โดยขอให้ไทยยึดถือตามพันธกิจที่ต้องรักษาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เพิ่มคำอธิบายภาพ |
แสดงความคิดเห็น