จับตาสิทธิด้านสุขภาพในร่างรัฐธรรมนูญถูกลดทอน?
เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพสะท้อนมุมมองหลังอ่านร่างรัฐธรรมนูญ ชี้สิทธิในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานอาจมีความเปลี่ยนแปลง เน้นสงเคราะห์มากกว่าประกันสิทธิถ้วนหน้า ขณะที่เอกสารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุ ประชาชนทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และผู้ยากไร้ย่อมได้รับริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชามติแนะประชาชนอ่านร่างรัฐธรรมนูญโดยละเอียด และพยายามหาข้อมูลเพิ่มเพื่อทำความเข้าใจ
เอกสารของทาง กกต. รณรงค์และให้ข้อมูลในการทำประชามติถูกแจกจ่ายไปถึงมือประชาชนบ้างแล้ว ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็มต้องดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่จัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ตั้งข้อสังเกตว่า เนื้อหาหมวดสวัสดิการของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการบัญญัติที่แปลกออกไปจากรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา โดยไม่ได้เขียนหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข แต่กล่าวถึงสิทธิเหล่านี้ในหมวดหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นหมวดที่เพิ่มขึ้นมาจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ซึ่งทางเครือข่ายฯ เห็นว่าอาจนำไปสู่นัยยะที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบคือ ผู้ยากไร้เท่านั้นที่มีสิทธิได้รับการบริการด้านสุขภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เครือข่ายฯ เห็นว่ารัฐธรรมนูญควรบัญญัติประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้ชัดเจนก่อนว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า
อีกประเด็นคือหมวดผู้สูงอายุ ซึ่งแม้จะมีการพูดกันมากว่าไทยกำลังจะเป็นสังคมสูงวัย แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้พูดเรื่องหลักประกันรายได้ว่าคนอายุ 60 บริบูรณ์แล้วจะมีหลักประกันรายได้ที่เสมอกัน หรือง่ายๆ คือ คนวัย 60 ไม่ได้มีบำนาญจากรัฐอย่างถ้วนหน้า แต่มีการกำหนดสงเคราะห์ผู้ที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์แต่ไม่มีรายได้แล้วเท่านั้น
“นี่คือการละเลยสิ่งที่รัฐทำอยู่แล้ว คือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคน ซึ่งจะไปสอดรับเรื่องลงทะเบียนคนจน กลายเป็นว่าผู้สูงอายุไม่จนก็ไม่ต้องรับ และไม่คิดจะทำเรื่องระบบบำนาญให้ดีกว่านี้” สุรีรัตน์กล่าวว่า สาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้รับการอธิบายให้ชัดเจน แต่อาจจะมีการแยกแยะการเข้าถึงสิทธิระหว่างคนรวยกับคนจน มากกว่าจะยืนยันในแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“เราเริ่มพูดได้ว่าเราไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มั่นใจในหมวดสิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐ ประการที่สอง ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับก็มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลนี้ เราไม่ควรยอมรับการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ เรารอดูว่าประชามติออกมาอย่างไร แต่หลังประชามติ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็ต้องตั้งสติว่าใครจะแก้กฎหมาย เราก็ห่วงสนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ว่าจะทำเรื่องแก้กฎหมายว่าจะทำรีบๆ เร็วๆ โดยเราไม่รู้ เราต้องพยายามทำให้มีกฎหมายของเราไปประกบในขั้นตอนการเสนอกฎหมาย” สุรีรัตน์กล่าว
นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน และผู้ประสานงานเครือข่ายประชามติ กล่าวว่าการอ่านรัฐธรรมนูญตามเนื้อหานั้นอาจจะไม่เข้าใจได้ทั้งหมด ในส่วนของสวัสดิการนั้น ส่วนใหญ่เขียนไม่เหมือนเดิม แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไป แต่ไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าทำไมบางประเด็นจึงเพิ่ม หรือตัดทอน และยากที่จะฟันธงว่าสิทธิต่างๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งเขามองว่าต้องอ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดเพราะบางเรื่องที่ถูกนำมาเป็นประเด็นถกเถียงก็อาจจะไม่ได้มีอยู่จริง
“อยากให้คนในสังคมดูว่า ถ้าเห็นดีเบตเรื่องอะไร อยากให้ลองเปิดตรวจสอบการอ่านรธน. เสียหน่อย เพราะบางคนก็คิดไปเอง ตัวอย่างเช่น การมีกระแสว่า รธน. นี้ทำให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ หรือมีโทษประหารชีวิตซึ่งไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เป็นเรื่องเข้าใจไปเอง และจริงๆ แล้วมันคือการแก้กฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)”
ภาพ เอกสารของกกต. ที่ส่งไปถึงครัวเรือนต่างๆ ทางไปรษณีย์ อธิบายสิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐในการบริการด้านสาธารณสุข
เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพสะท้อนมุมมองหลังอ่านร่างรัฐธรรมนูญ ชี้สิทธิในการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานอาจมีความเปลี่ยนแปลง เน้นสงเคราะห์มากกว่าประกันสิทธิถ้วนหน้า ขณะที่เอกสารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุ ประชาชนทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และผู้ยากไร้ย่อมได้รับริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชามติแนะประชาชนอ่านร่างรัฐธรรมนูญโดยละเอียด และพยายามหาข้อมูลเพิ่มเพื่อทำความเข้าใจ
เอกสารของทาง กกต. รณรงค์และให้ข้อมูลในการทำประชามติถูกแจกจ่ายไปถึงมือประชาชนบ้างแล้ว ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็มต้องดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่จัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ตั้งข้อสังเกตว่า เนื้อหาหมวดสวัสดิการของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการบัญญัติที่แปลกออกไปจากรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา โดยไม่ได้เขียนหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข แต่กล่าวถึงสิทธิเหล่านี้ในหมวดหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นหมวดที่เพิ่มขึ้นมาจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ซึ่งทางเครือข่ายฯ เห็นว่าอาจนำไปสู่นัยยะที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบคือ ผู้ยากไร้เท่านั้นที่มีสิทธิได้รับการบริการด้านสุขภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เครือข่ายฯ เห็นว่ารัฐธรรมนูญควรบัญญัติประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้ชัดเจนก่อนว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า
อีกประเด็นคือหมวดผู้สูงอายุ ซึ่งแม้จะมีการพูดกันมากว่าไทยกำลังจะเป็นสังคมสูงวัย แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้พูดเรื่องหลักประกันรายได้ว่าคนอายุ 60 บริบูรณ์แล้วจะมีหลักประกันรายได้ที่เสมอกัน หรือง่ายๆ คือ คนวัย 60 ไม่ได้มีบำนาญจากรัฐอย่างถ้วนหน้า แต่มีการกำหนดสงเคราะห์ผู้ที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์แต่ไม่มีรายได้แล้วเท่านั้น
“นี่คือการละเลยสิ่งที่รัฐทำอยู่แล้ว คือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคน ซึ่งจะไปสอดรับเรื่องลงทะเบียนคนจน กลายเป็นว่าผู้สูงอายุไม่จนก็ไม่ต้องรับ และไม่คิดจะทำเรื่องระบบบำนาญให้ดีกว่านี้” สุรีรัตน์กล่าวว่า สาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้รับการอธิบายให้ชัดเจน แต่อาจจะมีการแยกแยะการเข้าถึงสิทธิระหว่างคนรวยกับคนจน มากกว่าจะยืนยันในแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“เราเริ่มพูดได้ว่าเราไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มั่นใจในหมวดสิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐ ประการที่สอง ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับก็มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลนี้ เราไม่ควรยอมรับการสืบทอดอำนาจผ่านรัฐธรรมนูญ เรารอดูว่าประชามติออกมาอย่างไร แต่หลังประชามติ กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพก็ต้องตั้งสติว่าใครจะแก้กฎหมาย เราก็ห่วงสนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ว่าจะทำเรื่องแก้กฎหมายว่าจะทำรีบๆ เร็วๆ โดยเราไม่รู้ เราต้องพยายามทำให้มีกฎหมายของเราไปประกบในขั้นตอนการเสนอกฎหมาย” สุรีรัตน์กล่าว
นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน และผู้ประสานงานเครือข่ายประชามติ กล่าวว่าการอ่านรัฐธรรมนูญตามเนื้อหานั้นอาจจะไม่เข้าใจได้ทั้งหมด ในส่วนของสวัสดิการนั้น ส่วนใหญ่เขียนไม่เหมือนเดิม แต่จะมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกันไป แต่ไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าทำไมบางประเด็นจึงเพิ่ม หรือตัดทอน และยากที่จะฟันธงว่าสิทธิต่างๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งเขามองว่าต้องอ่านร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดเพราะบางเรื่องที่ถูกนำมาเป็นประเด็นถกเถียงก็อาจจะไม่ได้มีอยู่จริง
“อยากให้คนในสังคมดูว่า ถ้าเห็นดีเบตเรื่องอะไร อยากให้ลองเปิดตรวจสอบการอ่านรธน. เสียหน่อย เพราะบางคนก็คิดไปเอง ตัวอย่างเช่น การมีกระแสว่า รธน. นี้ทำให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ หรือมีโทษประหารชีวิตซึ่งไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญนี้เป็นเรื่องเข้าใจไปเอง และจริงๆ แล้วมันคือการแก้กฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)”
ภาพ เอกสารของกกต. ที่ส่งไปถึงครัวเรือนต่างๆ ทางไปรษณีย์ อธิบายสิทธิของประชาชนและหน้าที่ของรัฐในการบริการด้านสาธารณสุข
แสดงความคิดเห็น