สภาอังกฤษลงมติต่ออายุระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์
แก้ไขข้อมูลเมื่อเวลา 12:33 น.
ที่ประชุมสภาสหราชอาณาจักรมีมติสนับสนุนการต่ออายุระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์ โดยเสียงข้างมากมี 427 เสียง ต่อเสียงข้างน้อยที่คัดค้าน 117 เสียง และผู้งดออกเสียงอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้การประชุมที่ใช้เวลานานกว่า 5 ชม.ได้ข้อยุติ เมื่อวานนี้ (18 ก.ค.)
แก้ไขข้อมูลเมื่อเวลา 12:33 น.
ที่ประชุมสภาสหราชอาณาจักรมีมติสนับสนุนการต่ออายุระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์ โดยเสียงข้างมากมี 427 เสียง ต่อเสียงข้างน้อยที่คัดค้าน 117 เสียง และผู้งดออกเสียงอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้การประชุมที่ใช้เวลานานกว่า 5 ชม.ได้ข้อยุติ เมื่อวานนี้ (18 ก.ค.)
มติดังกล่าวเป็นการเห็นชอบให้ดำเนินการต่อเรื่องโครงการติดตั้งระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์แก่เรือดำน้ำ 4 ลำ หลังโครงการดังกล่าวเริ่มต้นไปได้ระยะหนึ่งและคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2573 และใช้งบประมาณราว 31,000 ล้านปอนด์ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท)
นายไมเคิล ฟอลลอน รัฐมนตรีกลาโหมของสหราชอาณาจักร กล่าวย้ำว่าภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวจากเกาหลีเหนือหรือรัสเซีย การต่ออายุระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์จะช่วยยับยั้งให้ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสหราชอาณาจักรต้องคิดทบทวนเสียใหม่
ด้านนายเจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคเลเบอร์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน เผชิญกับความแตกแยกในพรรคระลอกใหม่ โดยนายคอร์บินไม่เห็นด้วยกับการติดตั้งระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ แต่สมาชิกพรรคเลเบอร์ 140 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในสภาทั้งหมด 230 คน ลงมติสวนทางกับผู้นำพรรค เห็นชอบการต่ออายุระบบขีปนาวุธ ขณะที่พรรคคอนเซอร์เวทีฟซึ่งเป็นพรรครัฐบาล มีผู้ออกเสียงคัดค้านการต่ออายุระบบขีปนาวุธเพียงรายเดียว คือ นายคริสปิน บลันท์
สมาชิกพรรคชาตินิยมสกอตแลนด์ (เอสเอ็นพี) คัดค้านการปรับปรุงระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหราชอาณาจักรพิจารณายกเลิกการฟื้นฟูฐานทัพเรือไคลด์ในเมืองฟาสเลนของสกอตแลนด์ รวมถึงเคลื่อนย้ายอาวุธทำลายล้างอานุภาพสูงออกจากสกอตแลนด์ด้วย
นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรมีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องลดหัวรบนิวเคลียร์ในประเทศให้เหลือไม่เกิน 180 ลูกภายในปี 2563 ขณะที่ประชาชนอีกไม่น้อยคัดค้านการปรับปรุงระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ เพราะต้องการให้รัฐบาลลดงบประมาณด้านการทหารลง และนำไปใช้กับระบบสวัสดิการด้านต่างๆ แทน
(ภาพประกอบ: เรือดำน้ำติดตั้งระบบขีปนาวุธไทรเดนต์ลำหนึ่งจอดอยู่ที่ฐานทัพไคลด์ในสกอตแลนด์เมื่อปี 2552)
นายไมเคิล ฟอลลอน รัฐมนตรีกลาโหมของสหราชอาณาจักร กล่าวย้ำว่าภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวจากเกาหลีเหนือหรือรัสเซีย การต่ออายุระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ไทรเดนต์จะช่วยยับยั้งให้ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสหราชอาณาจักรต้องคิดทบทวนเสียใหม่
ด้านนายเจเรมี คอร์บิน ผู้นำพรรคเลเบอร์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน เผชิญกับความแตกแยกในพรรคระลอกใหม่ โดยนายคอร์บินไม่เห็นด้วยกับการติดตั้งระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ แต่สมาชิกพรรคเลเบอร์ 140 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในสภาทั้งหมด 230 คน ลงมติสวนทางกับผู้นำพรรค เห็นชอบการต่ออายุระบบขีปนาวุธ ขณะที่พรรคคอนเซอร์เวทีฟซึ่งเป็นพรรครัฐบาล มีผู้ออกเสียงคัดค้านการต่ออายุระบบขีปนาวุธเพียงรายเดียว คือ นายคริสปิน บลันท์
สมาชิกพรรคชาตินิยมสกอตแลนด์ (เอสเอ็นพี) คัดค้านการปรับปรุงระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์เช่นกัน พร้อมทั้งเรียกร้องให้สหราชอาณาจักรพิจารณายกเลิกการฟื้นฟูฐานทัพเรือไคลด์ในเมืองฟาสเลนของสกอตแลนด์ รวมถึงเคลื่อนย้ายอาวุธทำลายล้างอานุภาพสูงออกจากสกอตแลนด์ด้วย
นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรมีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งกำหนดเป้าหมายว่าจะต้องลดหัวรบนิวเคลียร์ในประเทศให้เหลือไม่เกิน 180 ลูกภายในปี 2563 ขณะที่ประชาชนอีกไม่น้อยคัดค้านการปรับปรุงระบบขีปนาวุธนิวเคลียร์ เพราะต้องการให้รัฐบาลลดงบประมาณด้านการทหารลง และนำไปใช้กับระบบสวัสดิการด้านต่างๆ แทน
(ภาพประกอบ: เรือดำน้ำติดตั้งระบบขีปนาวุธไทรเดนต์ลำหนึ่งจอดอยู่ที่ฐานทัพไคลด์ในสกอตแลนด์เมื่อปี 2552)
แสดงความคิดเห็น