ผลตรวจดีเอ็นเอชี้ สังคมเกษตรแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นพร้อมกันในหลายที่
ผลการศึกษาของทีมนักวิจัยนานาชาติ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ระบุว่า ผลการตรวจดีเอ็นเอจากโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ที่พบในแถบเทือกเขาซากรอสของอิหร่าน มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับดีเอ็นเอของคนยุคเดียวกันกลุ่มอื่น ๆ ในภูมิภาคยูเรเชีย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดสังคมเกษตรกรรมของมนุษย์
การค้นพบนี้ตอบคำถามที่มีมายาวนานว่า การเริ่มทำเกษตรแพร่หลายออกไปจากแหล่งกำเนิดเดียว หรือมีขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในชุมชนของมนุษย์หลายกลุ่มทั่วภูมิภาคยูเรเชียกันแน่ ซึ่งผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอครั้งนี้ชี้ว่า มีคนหลายกลุ่มในพื้นที่ “จันทร์เสี้ยวแห่งความอุดมสมบูรณ์” (Fertile Crescent) คือพื้นที่ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำไนล์ไปจรดทางตะวันตกของอิหร่าน ที่เป็นผู้ริเริ่มทำเกษตรเป็นกลุ่มแรก ๆ ของโลก
ผลการศึกษาของทีมนักวิจัยนานาชาติ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science ระบุว่า ผลการตรวจดีเอ็นเอจากโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่ที่พบในแถบเทือกเขาซากรอสของอิหร่าน มีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับดีเอ็นเอของคนยุคเดียวกันกลุ่มอื่น ๆ ในภูมิภาคยูเรเชีย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดสังคมเกษตรกรรมของมนุษย์
การค้นพบนี้ตอบคำถามที่มีมายาวนานว่า การเริ่มทำเกษตรแพร่หลายออกไปจากแหล่งกำเนิดเดียว หรือมีขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันในชุมชนของมนุษย์หลายกลุ่มทั่วภูมิภาคยูเรเชียกันแน่ ซึ่งผลการวิเคราะห์ดีเอ็นเอครั้งนี้ชี้ว่า มีคนหลายกลุ่มในพื้นที่ “จันทร์เสี้ยวแห่งความอุดมสมบูรณ์” (Fertile Crescent) คือพื้นที่ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำไนล์ไปจรดทางตะวันตกของอิหร่าน ที่เป็นผู้ริเริ่มทำเกษตรเป็นกลุ่มแรก ๆ ของโลก
ทั้งนี้ สังคมมนุษย์พัฒนาจากการดำรงชีวิตแบบล่าสัตว์และเก็บของป่า มาเป็นสังคมเกษตรกรรมซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งที่แน่นอนเมื่อราว 10,000 ปีมาแล้ว โดยหลังยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลง สังคมเกษตรกรรมได้แพร่หลายออกไปทั่วดินแดนแถบยูเรเชีย โดยถือเป็นพัฒนาการก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ - ชาวนาปลูกข้าวในพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน)
(ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ - ชาวนาปลูกข้าวในพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน)
แสดงความคิดเห็น