กระบวนการฟ้องร้องสามนักสิทธิฐานหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ทหารเดินหน้า ขณะที่ 4 องค์กรนักกฎหมายเรียกร้องให้จนท.ยกเลิกการดำเนินคดีและตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงปัญหาซ้อมทรมานแทน
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและประธานกรรมการแอมเนสตี้ ประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.ค.) ตนพร้อมนักรณรงค์ปกป้องสิทธิมนุษยชนอีก 2 คน คือ นายสมชาย หอมละออ และ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ จะเข้ารับฟังข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ ที่ สภอ.เมืองปัตตานี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากท่าทีแข็งกร้าวของฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ต้องการฟ้องร้องให้จงได้ทำให้กลุ่มคาดการณ์ในทางลบไว้หลายประการ รวมทั้งการเตรียมขอยื่นประกันตัว
นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งสามถูกดำเนินคดีหลังจากที่พวกเขาออก “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558” ซึ่งระบุว่ามีคนกลุ่มหนึ่งไม่ต่ำกว่า 50 คนถูกซ้อมทรมานในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างกรรม ต่างวาระกัน
เมื่อวานนี้ (25 ก.ค.) มีองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยสองกลุ่มออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการทหารยุติการดำเนินคดีกับนักสิทธิทั้งสามคน
แถลงการณ์ฉบับแรกออกโดยองค์กรด้านสิทธิและกฎหมาย 4 แห่งคือ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (UCL) เรียกร้องเจ้าหน้าที่ให้ยุติการดำเนินคดีแต่ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุว่า การพยายามเอาผิดคนทั้งสามคนจากการที่พวกเขาออกรายงาน เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ไม่มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีกับพวกเขา
“เนื่องจาก รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรของรัฐ ไม่มีสิทธิเช่นเดียวกับบุคคล ไม่มีเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่ต้องรักษา เพราะรัฐมีเพียงอำนาจและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจให้ทำหน้าที่ปกป้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือกระทั่งรัฐบาลละเลยหรือละเว้นไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ประชาชนก็มีสิทธิโต้แย้ง ตำหนิ หรือกระทั่งกล่าวหาได้ และรัฐมีหน้าที่ต้องรับฟังและนำไปพิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงการทำหน้าที่ ไม่ใช่นำเอาข้อกล่าวหานั้นมาไล่ฟ้องดำเนินคดีกับประชาชนในข้อหาหมิ่นประมาท” ข้อความจากแถลงการณ์ระบุ
แถลงการณ์ยังกล่าวอีกว่า ประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องหมิ่นประมาทมีเจตนารมณ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ไม่ได้มุ่งหมายจะคุ้มครองหน่วยงานรัฐ หากมีการกระทำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทตัวเจ้าพนักงานของรัฐ ก็จะมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานต้นสังกัด แถลงการณ์ชี้ว่าการดำเนินการของ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า รายงานเรื่องปัญหาการซ้อมทรมานดังกล่าวรวบรวมขึ้นตามหลักเกณฑ์วิชาการ เป็นไปตาม “คู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nation Fund for Victims of Torture)” ภายใต้หลักการตาม “อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี” ที่ไทยเป็นภาคี
การทำรายงานชิ้นนี้ ผู้รวบรวมก็ลงมือทำในฐานะการเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือปกป้องสิทธิของผู้อื่น พวกเขาจึงต้องได้รับความคุ้มครองตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองคนเหล่านี้
การฟ้องร้องพวกเขาจึงสวนทางกับหลักสากล การฟ้องร้องเอาโทษกับคนทั้งสามจึงเป็นการบั่นทอนภาพลักษณ์ไทยในสายตาชาวโลก และชี้ว่าทั้งๆ ที่บุคคลทั้งสามมีชื่อเสียงพอสมควรก็ยังถูกดำเนินการ ชี้ให้เห็นว่าสถานะของชาวบ้านทั่วไปจะยิ่งลำบากมากกว่า
“การดำเนินการแบบนี้ ย่อมจะส่งผลต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนผู้เสียเปรียบและตกเป็นเหยื่อการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความหวาดกลัว หวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือแม้กระทั่งรัฐบาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อประชาคมโลก”
นอกจากนี้ แถลงการณ์ชี้ว่า การดำเนินการโดยใช้กฎหมายพรบ.คอมพิวเตอร์นั้นน่าจะขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย “เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 นั้น ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะไปใช้กับกรณีหมิ่นประมาท แต่มุ่งเน้นจะใช้กับเรื่องการโจมตีระบบ หรือกรณีปลอมแปลง หรือฉ้อโกงเท่านั้น อีกทั้งยังมีคำพิพากษาศาลในคดีภูเก็ตหวานที่วินิจฉัยยืนยันเจตนารมณ์ดังกล่าวไว้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ไม่ได้มุ่งเอาผิดกับความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา”
แถลงการณ์ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการดำเนินคดีกับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสาม และให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบข้อเท็จจริงตามรายงาน โดยให้เลือกบุคคลที่เป็นกลางได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเข้าสอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามหลักสากล เพื่อ “สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อประชาชนและต่อประชาคมโลก”
ในวันเดียวกันคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียหรือ AHRC ได้ออกแถลงการณ์ด้วยเช่นกัน เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีคนทั้งสาม โดยระบุว่า รายงานการซ้อมทรมานที่ออกมา เป็นผลของความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ที่รับผลพวงด้านลบจากการใช้ความพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างมากทำให้มีบางคนใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง หากปล่อยไว้ปัญหาเช่นนี้จะเป็นเงื่อนไขสร้างความรุนแรงต่อไปเรื่อยๆ
เอเอชอาร์ซีชี้ว่า คดีของนักสิทธิทั้งสามคนเป็นคดีที่องค์กรสิทธิทั้งในและนอกประเทศให้ความสนใจ เนื่องจากบุคคลทั้งสามทำงานด้านสิทธิในสามจังหวัดภาคใต้มายาวนาน คดีนี้จะเป็นบททดสอบระบบกระบวนการยุติธรรมของไทยว่ามีความเข้าใจในบทบาทของนักสิทธิและปัญหาการซ้อมทรมานในประเทศมากน้อยเพียงใด
น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและประธานกรรมการแอมเนสตี้ ประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (26 ก.ค.) ตนพร้อมนักรณรงค์ปกป้องสิทธิมนุษยชนอีก 2 คน คือ นายสมชาย หอมละออ และ น.ส.อัญชนา หีมมีหน๊ะ จะเข้ารับฟังข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ ที่ สภอ.เมืองปัตตานี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากท่าทีแข็งกร้าวของฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ต้องการฟ้องร้องให้จงได้ทำให้กลุ่มคาดการณ์ในทางลบไว้หลายประการ รวมทั้งการเตรียมขอยื่นประกันตัว
นักรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนทั้งสามถูกดำเนินคดีหลังจากที่พวกเขาออก “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปี 2557-2558” ซึ่งระบุว่ามีคนกลุ่มหนึ่งไม่ต่ำกว่า 50 คนถูกซ้อมทรมานในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างกรรม ต่างวาระกัน
เมื่อวานนี้ (25 ก.ค.) มีองค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยสองกลุ่มออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการทหารยุติการดำเนินคดีกับนักสิทธิทั้งสามคน
แถลงการณ์ฉบับแรกออกโดยองค์กรด้านสิทธิและกฎหมาย 4 แห่งคือ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA) มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (UCL) เรียกร้องเจ้าหน้าที่ให้ยุติการดำเนินคดีแต่ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุว่า การพยายามเอาผิดคนทั้งสามคนจากการที่พวกเขาออกรายงาน เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ไม่มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดีกับพวกเขา
“เนื่องจาก รัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรของรัฐ ไม่มีสิทธิเช่นเดียวกับบุคคล ไม่มีเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่ต้องรักษา เพราะรัฐมีเพียงอำนาจและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจให้ทำหน้าที่ปกป้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานรัฐ หรือกระทั่งรัฐบาลละเลยหรือละเว้นไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ประชาชนก็มีสิทธิโต้แย้ง ตำหนิ หรือกระทั่งกล่าวหาได้ และรัฐมีหน้าที่ต้องรับฟังและนำไปพิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงการทำหน้าที่ ไม่ใช่นำเอาข้อกล่าวหานั้นมาไล่ฟ้องดำเนินคดีกับประชาชนในข้อหาหมิ่นประมาท” ข้อความจากแถลงการณ์ระบุ
แถลงการณ์ยังกล่าวอีกว่า ประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องหมิ่นประมาทมีเจตนารมณ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ไม่ได้มุ่งหมายจะคุ้มครองหน่วยงานรัฐ หากมีการกระทำที่ถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทตัวเจ้าพนักงานของรัฐ ก็จะมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับหน่วยงานต้นสังกัด แถลงการณ์ชี้ว่าการดำเนินการของ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แถลงการณ์ยังระบุอีกว่า รายงานเรื่องปัญหาการซ้อมทรมานดังกล่าวรวบรวมขึ้นตามหลักเกณฑ์วิชาการ เป็นไปตาม “คู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานกรณีการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อเหยื่อการทรมานแห่งสหประชาชาติ (United Nation Fund for Victims of Torture)” ภายใต้หลักการตาม “อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี” ที่ไทยเป็นภาคี
การทำรายงานชิ้นนี้ ผู้รวบรวมก็ลงมือทำในฐานะการเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือปกป้องสิทธิของผู้อื่น พวกเขาจึงต้องได้รับความคุ้มครองตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐบาลไทยเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองคนเหล่านี้
การฟ้องร้องพวกเขาจึงสวนทางกับหลักสากล การฟ้องร้องเอาโทษกับคนทั้งสามจึงเป็นการบั่นทอนภาพลักษณ์ไทยในสายตาชาวโลก และชี้ว่าทั้งๆ ที่บุคคลทั้งสามมีชื่อเสียงพอสมควรก็ยังถูกดำเนินการ ชี้ให้เห็นว่าสถานะของชาวบ้านทั่วไปจะยิ่งลำบากมากกว่า
“การดำเนินการแบบนี้ ย่อมจะส่งผลต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนผู้เสียเปรียบและตกเป็นเหยื่อการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความหวาดกลัว หวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานรัฐ หรือแม้กระทั่งรัฐบาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อประชาคมโลก”
นอกจากนี้ แถลงการณ์ชี้ว่า การดำเนินการโดยใช้กฎหมายพรบ.คอมพิวเตอร์นั้นน่าจะขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย “เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 นั้น ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะไปใช้กับกรณีหมิ่นประมาท แต่มุ่งเน้นจะใช้กับเรื่องการโจมตีระบบ หรือกรณีปลอมแปลง หรือฉ้อโกงเท่านั้น อีกทั้งยังมีคำพิพากษาศาลในคดีภูเก็ตหวานที่วินิจฉัยยืนยันเจตนารมณ์ดังกล่าวไว้ว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ไม่ได้มุ่งเอาผิดกับความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา”
แถลงการณ์ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ยุติการดำเนินคดีกับนักสิทธิมนุษยชนทั้งสาม และให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบข้อเท็จจริงตามรายงาน โดยให้เลือกบุคคลที่เป็นกลางได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายเข้าสอบสวนข้อเท็จจริงและดำเนินการตามหลักสากล เพื่อ “สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อประชาชนและต่อประชาคมโลก”
ในวันเดียวกันคณะกรรมการเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียหรือ AHRC ได้ออกแถลงการณ์ด้วยเช่นกัน เรียกร้องให้ทางการไทยยุติการดำเนินคดีคนทั้งสาม โดยระบุว่า รายงานการซ้อมทรมานที่ออกมา เป็นผลของความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้ที่รับผลพวงด้านลบจากการใช้ความพยายามแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ที่มีการใช้กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างมากทำให้มีบางคนใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง หากปล่อยไว้ปัญหาเช่นนี้จะเป็นเงื่อนไขสร้างความรุนแรงต่อไปเรื่อยๆ
เอเอชอาร์ซีชี้ว่า คดีของนักสิทธิทั้งสามคนเป็นคดีที่องค์กรสิทธิทั้งในและนอกประเทศให้ความสนใจ เนื่องจากบุคคลทั้งสามทำงานด้านสิทธิในสามจังหวัดภาคใต้มายาวนาน คดีนี้จะเป็นบททดสอบระบบกระบวนการยุติธรรมของไทยว่ามีความเข้าใจในบทบาทของนักสิทธิและปัญหาการซ้อมทรมานในประเทศมากน้อยเพียงใด
แสดงความคิดเห็น